ดนตรีไทย
สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)
สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)
เปิดสอนหลักสูตร ดนตรีไทย เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทยไม่ว่าจะเป็น ขิม ซอด้วง ซออู้ ระนาด จากอาจารย์เจี๊ยบ เดี่ยวขิม ระดับประเทศไทย ผลงานระดับหน้าพระที่นั่ง ผู้มากด้วยประสบการณ์ ได้รับรางวัลมากมาย
สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)
เปิดสอน ดนตรีไทย
รอบวัน เสาร์ อาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 10.00 น - 19.30 น
เรียนเดี่ยว คอร์สละ 5,000 บาท วันละ 2 ชั่วโมง
สำหรับเน้นเป็นเร็ว และ ฝึกเทคนิคต่างๆ
เรียนกลุ่ม รอบละ 4 ท่าน คอร์สละ 2,500 บาท
รับจำนวนจำกัด เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี
สอบถามรายละเอียดได้ที่
สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)
โทร. 02-5011314 ,086-4071435,
089 22 33 011
สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)
99/64 หมู่บ้านเดอะแพลนท์ ถ.ติวานนท์
ต. บางกะดี อ.เมือง จ.ปทุมธานี
สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)
พร้อมอุปกรณ์การเรียน
ฝึกทักษะ และเทคนิค กับ ครูเจี๊ยบ ขิมเดียวระดับประเทศ
สถานที่เรียนห้องแอร์ สะอาด สะดวก ปลอดภัย รับจำนวนจำกัด
เพียง 4 ท่านต่อรอบ รับตั้งแต่อายุ 7 ปี เป็นต้นไป
ขิม เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมบรรเลงเล่นกันทั่วไปในหลายประเทศทั้งในทวีปยุโรปและทวีปเอเซีย เครื่องดนตรีชนิดนี้น่าจะพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภท "พิณ" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงโดยเหนี่ยวสายให้เกิดเป็นเสียงด้วยนิ้วหรือวัสดุแข็งที่ทำจากกระดูกหรือเขาสัตว์ต่อมาจึงใด้คิดประดิษฐ์รูปร่างใหม่ให้เหมาะสมกับการใช้ไม้ตี
ลงไปบนสายให้เกิดเสียงแทนการใช้นิ้ว
แม้ขิมจะเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไปแต่ประวัติความเป็นมาของขิมนั้นมีคนทราบน้อยมาก อย่างเช่นในเมืองไทยคนส่วนใหญ่จะคิดว่าขิมเป็นเครื่องดนตรีของจีนเพราะทราบแต่เพียงว่าไทยรับเอาแบบอย่างการบรรเลงขิมหรือการประดิษฐ์ขิมมาจากชาวจีนที่เข้ามาค้าขายกับเมืองไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สำหรับชาวยุโรปส่วนใหญ่จะทราบว่าขิมเป็นเครื่องดนตรีที่แพร่เข้ามาจากทางตะวันออกแถบเอเซียกลางซึ่งก็คือบริเวณที่ตั้งของประเทศตุรกี อิหร่าน อิรัค และประเทศในกลุ่มศาสนาอิสลามอีกหลายประเทศในปัจจุบันนั่นเอง แต่ในยุคโบราณซึ่งนับถอยหลังไปประมาณ 539 - 330 ปีก่อนศริสตกาลนั้นบริเวณดังกล่าวตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของชนชาติที่เคยยิ่งใหญ่ชาติหนึ่งนั่นคือ "อาณาจักรเปอร์เซีย"
ชนชาติเปอร์เซียนโบราณเป็นทั้งชาตินักรบและศิลปินสังเกตได้จากอาณาจักรที่แผ่กว้างไกลและสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือมาจนถึงยุคปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนในด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองและชนชาติเปอร์เซียนนี้เองที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ริเริ่มคิดประดิษฐ์ ขิม ขึ้นมาก่อนเป็นชาติแรก
เมื่อชาวเปอร์เซียนคิดประดิษฐ์ขิมขึ้นแล้วก็แพร่หลายไปทั้งทวีปยุโรปและเอเซียตามอิทธิพลของอาณาจักรเปอร์เซีย สำหรับทวีปเอเซียนั้นแพร่เข้ามาทางเส้นทางสายไหมไปสู่ประเทศจีนโดยพ่อค้าชาวเปอร์เซียน ด้วยเหตุนี้ชาวจีนจึงเรียกขิมว่า "หยางฉิน" (Yang Ch'in) ซึ่งแปลว่า "เครื่องดนตรีของต่างชาติ" ส่วนที่แพร่ไปทางดินเดียก็มีเหมือนกันโดยชาวดินเดียเรียกขิมว่า "ซันตูร์" (Santoor) ในทวีปยุโรปเรียกขิมว่า "ดัลไซเมอร์" (Dulcimer) ที่จริงคำว่า Dulcimer มิได้หมายถึงขิมเท่านั้นแต่หมายรวมไปถึงเครื่องดนตรีประเภทพิณที่ทำด้วยไม้แล้วขึงสายโลหะทุกประเภท ส่วนใหญ่เครื่องดนตรีที่ขึงสายนั้นจะบรรเลงด้วยการใช้นิ้วมือหรือวัสดุเล็กที่เรียกว่า "ปิ๊ก" (Pick) ดีดหรือเขี่ยสายให้เกิดเสียงและใช้นิ้วมืออีกข้างกดสายเพื่อให้เกิดเป็นทำนองเสียงสูงต่ำแตกต่างกันแต่ขิมเป็นเครื่องดนตรีประเภท Dulcimer ที่ใช้ไม้ 2 อันตีไปตามสายดังนั้นจึงเรียกขิมอีกชื่อหนึ่งว่า Hammered Dulcimer ซึ่งหมายถึงพิณที่บรรเลงด้วยการใช้ฆ้อนไม้เล็กๆตีลงไปบนสายนั่นเอง
โดยเหตุที่ชาวจีนเป็นนักคิดประดิษฐ์และมีรูปแบบศิลปะเป็นของตนเองดังนั้นเมื่อรับเอารูปแบบของขิมมาจากเปอร์เซียแล้วจึงนำมาดัดแปลงเป็นแบบฉบับของตนเองและนิยมบรรเลงกันแพร่หลายทั่วไปแต่มิได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับเครื่องดนตรีชนิดนี้คงเรียกว่าหยางฉินสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
|
สนใจศึกษาอบรมได้ที่
โทร. 02-5011314 ,086-4071435,089 22 33 011 |
ครั้นถึงยุคต้นๆของกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อมีพ่อค้าชาวจีนแล่นเรือเข้ามาค้าขายและตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยมากขึ้นนักดนตรีไทยเห็นชาวจีนนำหยางฉินเข้ามาบรรเลงเล่นกันในชุมชนของชาวจีนและโรงงิ้วจึงเกิดความสนใจและได้นำเครื่องดนตรีชนิดนี้เข้ามาร่วมบรรเลงกับเครื่องดนตรีของไทยเช่น ซอด้วง ซออู้ และเห็นว่ามีความไพเราะน่าฟังเหมาะสมกลมกลืนกันดีจึงจัดให้ขิมเป็นเครื่องดนตรีของไทยอีกชนิดหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในประเภทวงเครื่องสายทั้งนี้อาจจะเห็นว่าขิมนั้นมีสายขึงเรียงรายอยู่มากมายทั้งๆที่ลักษณะการบรรเลงของขิมนั้นน่าจะจัดอยู่ในประเภทเครื่องตีเช่นระนาดเอกหรือฆ้องวงมากกว่าแต่เนื่องจากเสียงขิมนั้นเมื่อบรรเลงรวมกับเสียงของวงปี่พาทย์แล้วไม่ค่อยสนิทสนมกลมกลืนเหมือนบรรเลงกับวงเครื่องสายด้วยเหตุนี้ขิมจึงถูกจัดให้เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเรียกวงดนตรีที่ใช้ขิมร่วมบรรเลงว่า "วงเครื่องสายผสมขิม" ประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ ขิม ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง |
|
มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับชื่อ "ขิม" คือ คำนี้มีที่มาอย่างไรกันแน่ ในเมื่อชาวจีนเรียก ขิมว่า หยางฉิน ชาวตะวันตกเรียก แฮมเมอร์ดัลไซเมอร์ ชาวอินเดียเรียกว่า ซันตูร์ ชาติอื่นๆต่างก็มีชื่อเรียกขิมแตกต่างไปไม่เหมือนกันซึ่งไม่ปรากฏว่ามีชื่อใดที่มีการออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า ขิม เลย แล้วเหตุใดคนไทยจึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า ขิม
เรื่องนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานใดที่ชี้ชัดแต่นักดนตรีไทยรุ่นหลังๆคาดเดากันเองว่าคำนี้คนไทยรุ่นแรกๆที่นำขิมมาบรรเลงอาจจะเรียกชื่อขิมเพี้ยนมาจากคำว่า "คิ้ม" ในภาษาจีน เนื่องจากคำว่าคิ้มในภาษาจีนหมายถึง เครื่องดนตรีประเภท "พิณ" ทุกชนิด คล้ายๆกับที่ชาวยุโรปเรียก ดัลไซเมอร์ (Dulcimer) นั่นเอง และเป็นไปได้ว่าเมื่อคนไทยถามถึงชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ ชาวจีนอาจจะบอกว่าชื่อ คิ้ม ซึ่งเป็นชื่อเรียกรวมๆของขิมแต่คนไทยคงได้ยินเป็นขิมเลยเรียกกันต่อๆมาจนถึงปัจจุบันเพราะการออกเสียงคำว่า คิ้ม กับ ขิม นั้นดูจะใกล้เคียงกันมากอย่างไรก็ดีเรื่องนี้เป็นเพียงการสันนิษฐานคาดเดากันเองเท่านั้น ที่มาจริงๆยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด
สนใจศึกษาอบรมได้ที่
โทร. 02-5011314 ,086-4071435,089 22 33 011
ยังมีชื่อเรียกขิมเป็นภาษาอังกฤษที่แปลกและน่าสนใจอีกชื่อหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีคนทราบมากนักชื่อนั้นคือ Butterfly Harp หมายถึงพิณที่มีรูปร่างคล้ายกับตัวผีเสื้อกล่าวคือเมื่อเรานำ ตัวขิม ฝาขิม และอุปกรณ์ในการตีขิมมาเรียงเข้าด้วยกันให้เหมาะสมถูกตำแหน่งแล้วจะมองดูคล้ายกับผีเสื้อกำลังกางปีกบินมากทีเดียวจึงมีผู้เรียกขิมว่า "พิณผีเสื้อ" หรือ Butterfly Harp ซึ่งฟังไพเราะและมีความหมายเข้ากันได้ดีทีเดียว |
|
ขิมโป๊ยเซียน
ขิมเริ่มมีบทบาทในวงดนตรีไทยจริงๆในสมัยรัชกาลที่ 6 โดย อาจารย์มนตรี ตรโมท เป็นผู้ริเริ่มนำขิมมาบรรเลงในวงดนตรีไทย หลังจากนั้นก็มีผู้นิยมบรรเลงขิมกันแพร่หลายทั่วไป ขิมจีนรุ่นแรกๆนั้นคนไทยนิยมเรียกว่า "ขิมโป๊ยเซียน" เป็นขิมที่สั่งเข้ามาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ที่เรียกว่าขิมโป๊ยเซียนก็เพราะขิมรุ่นนั้นนิยมวาดภาพเซียนแปดองค์ของจีนไว้บนฝาขิมต่อมาเมื่อความต้องการซื้อขิมเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศจีน ทำการปิดประเทศช่างดนตรีของไทยจึงได้คิดประดิษฐ์ขิมขึ้นมาเองโดยเปลี่ยนจากภาพเซียนแปดองค์เป็นภาพลายไทยอื่นๆเช่นลายเทพนมเป็นต้น |
|
1) หน้าขิม 2) ฝาขิม 3)ลิ้นชัก 4) ฆ้อนขิม 5) ไม้ขิม 6)หย่องขิม 7)หมุดยึดสาย
8) ช่องเสียง 9) สายขิม 10) หย่องบังคับเสียง 11) ห่วงลิ้นชัก 12) หมุดเทียบเสียง
มีเรื่องเล่าที่น่าขบขันเกี่ยวกับขิมจีนที่พ่อค้าคนไทยสั่งซื้อมาจากเมืองจีนว่า ในตอนที่คนไทยเริ่มนิยมบรรเลงขิมจีนกันมากนั้นมีพ่อค้าคนไทยคนหนึ่งต้องการจะสั่งขิมจีนเข้ามาจำหน่ายที่ร้านแต่ต้องการให้ช่างจีนเขียนลายบนฝาขิมเป็นภาพหนุมานกำลังหักคอช้างเอราวัณจึงจัดหาภาพดังกล่าวส่งไปพร้อมกับใบสั่งซื้อครั้นเมื่อสินค้ารุ่นแรกเข้ามาถึงจำนวน 12 ตัวปรากฏว่าลวดลายบนฝาขิมกลายเป็นภาพเสือกำลังตะปบคอช้าง พ่อค้าจึงเขียนหนังสือต่อว่าไปทางเมืองจีนว่าภาพนั้นควรจะเป็นภาพลิงหักคอช้างแต่ช่างจีนโต้ตอบกลับว่า ..ลิงที่ไหนจะสามารถหักคอช้างได้ ควรจะเป็นเสือมากกว่า.. เขาจึงเขียนแก้ให้ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในยุคแรกที่ขิมเริ่มเข้ามาในเมืองไทย เพราะพ่อค้าคนนั้นเป็นเพื่อนกับบิดาของผู้เขียนและเรื่องนี้บิดาของผู้เขียนคือพระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก) เป็นผู้เล่าให้ฟังด้วยตนเอง เมื่อเป็นดังนี้พ่อค้าคนนั้นจึงเลิกสั่งขิมจากประเทศจีนและขิมที่มีฝาเป็นรูปเสือตะปบคอช้างจึงมีเพียง 12 ตัวเท่านั้น ขิมรุ่นนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสเห็นด้วยตาของตนเองครั้งหนึ่งเมื่อมีลูกศิษย์นำมาให้ช่วยปรับสียง ลูกศิษย์บอกว่าเป็นของมรดกตกทอดของคุณย่าของเขาแต่สภาพของขิมตัวนั้นไม่เหมาะที่จะนำมาบรรเลงแล้วเนื่องจากมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากผู้เขียนจึงบอกให้เขาเก็บไว้เป็นของเก่าที่มีคุณค่าดีกว่าเพราะเป็นขิมรุ่นที่มีเพียง 12 ตัว เท่านั้น
เมื่อจีนปิดประเทศอยู่หลังม่านไม้ไผ่และความต้องการขิมในเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นแรงจูงใจให้ช่างดนตรีไทยผลิตขิมขึ้นใช้เองในประเทศขิมไทยจึงถือกำเนิดขึ้นและมีการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ช่างดนตรีไทยได้ประดิษฐ์ขิมขึ้นโดยเลียนแบบอย่างจากขิมโป๊ยเซียนแต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย และโดยความที่คนไทยเป็นนักคิดประดิษฐ์ไม่แพ้ชาติอื่นช่างดนตรีไทยจึงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะและอุปกรณ์สำหรับตีขิมให้แตกต่างออกไปบ้างอาทิเช่นไม้ขิมของจีนนั้นเดิมตรงส่วนปลายเป็นเพียงสันไม้ไผ่เปล่าๆไม่มีวัสดุห่อหุ้ม ช่างไทยก็หาวัสดุจำพวกแผ่นหนังมาติดไว้เวลาตีสายขิมจะมีเสียงไพเราะนุ่มนวลน่าฟังมากกว่า ลวดลายที่วาดบนฝาขิมก็เปลี่ยนเป็นลายไทยเช่นลายเทพนมฯหรือถ้าวาดเป็นลายจีนก็เป็นลายจีนแบบไทยที่คิดประดิษฐ์ลายเองเช่นลายมังกรคู่หรือลายจีนอื่นๆแล้วแต่จินตนาการของช่างแต่ละแหล่งผลิต
ขิมไทยมีพัฒนาการเรื่อยมาทั้งในด้านรูปร่างลักษณะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรเลงขิมอาทิเช่น ทำตัวขิมเป็นรูปเหมือนกระเป๋าเดินทางมีหูหิ้วเพื่อให้สะดวกในการนำ ไปบรรเลงยังที่ต่างๆ ทำถุงใส่ตัวขิมทั้งที่เป็นพลาสติกหนังและผ้า บางทีก็ทำเป็นสายเข็มขัดรัดตัวขิมมีหูหิ้วในตัวฯลฯ แต่การพัฒนาที่นับว่าเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญครั้งแรกของวงการผลิตขิมของไทยก็คือการผลิตขิมชนิด "หมุดเกลียว"
แต่เดิมนั้นขิมจีนและขิมที่ผลิตโดยคนไทยล้วนใช้หมุดยึดสายขิมแบบ "หมุดตอก" ทั้งสิ้น หมุดตอกคือหมุดที่ต้องใช้ฆ้อนเล็กๆตอกย้ำหมุดให้แน่นขณะที่ปรับเสียงขิมเพราะถ้าหมุดไม่แน่นจะคลายตัวง่ายทำให้เสียงขิมเพี้ยนแปร่งไม่น่าฟังแต่เนื่องจากตัวหมุดทำด้วย |
สนใจศึกษาอบรมได้ที่
โทร. 02-5011314 ,086-4071435,089 22 33 011 |
ทองเหลืองบางครั้งจะบิดงอได้ง่ายหรือบางทีส่วนปลายหักค้างอยู่ในเนื้อไม้ทำให้ตอกไม่ลงและตัวหมุดไม่ยึดเนื้อไม้จึงไม่สามารถเทียบเสียงเส้นนั้นได้นอกจากนั้นขิมแบบหมุดตอกตัวหมุดมีผิวเรียบไม่ค่อยจะยึดกับเนื้อไม้ได้ดีนักต้องหมั่นตอกย้ำกันอยู่เสมอมีบ่อยครั้ง ที่หมุดคลายตัวขณะที่กำลังบรรเลงเพราะแรงสั่นสะเทือนจากการตีสายขิมทำให้ต้องหยุดบรรเลงบ่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีช่างดนตรีไทยท่านหนึ่งคิดแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเปลี่ยนมาใช้หมุดเกลียวแทนหมุดตอกทำให้สายขิมไม่ค่อยคลายตัวง่ายและยังสะดวกในการเทียบสายขิมเพราะไม่ได้ใช้ฆ้อนตอกแต่ออกแบบอุปกรณ์เทียบเสียงใหม่เป็นกระบอกสวมหัวหมุดและมีก้านสำหรับจับบิดไปมาได้แรงมากกว่าการหมุนที่หัวฆ้อนแบบเดิมการปรับเสียงขิมจึงทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้นมากและสายขิมไม่คลายตัวง่ายเหมือนหมุดตอกนับเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญครั้งแรกของการผลิตขิมของไทย |
|
น่าแปลกที่ช่างดนตรีท่านนี้ไม่ได้เป็นช่างดนตรีโดยอาชีพแต่เป็นนายแพทย์ที่จบจากโรงพยาบาลศิริราชชื่อนายแพทย์สมชาย กาญจนสุต นายแพทย์สมชายเป็นนักดนตรีไทยที่ชอบบรรเลงขิมแต่มีนิสัยชอบงานช่างไม้ด้วยท่านจึงได้คิดแก้ปัญหาจนทำให้ขิมไทยมีคุณภาพดีขึ้นนายแพทย์สมชายฯยังได้ออกแบบรูปร่างของขิมให้มีลักษณะแตกต่างออกไปจากขิมโป๊ยเซียนของจีนมากมายหลายแบบซึ่งล้วนได้รับความนิยมจากนักตีขิมทั่วประเทศจึงตั้งโรงงานผลิตขิมเป็นของตนเองชื่อร้าน "สยามวาฑิต" ซึ่งปัจจุบันชื่อร้านสยามวาฑิตเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไปในวงการดนตรีไทย
การพัฒนาแบบก้าวกระโดดของขิมไทยครั้งที่ 2 ก็คือการผลิตขิมชนิด 9 หย่อง ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของขิมไทยทีเดียวทั้งนี้เพราะขิมชนิด 9 หย่องมีคุณภาพเสียงไพเราะน่าฟังกว่าขิมแบบ 7 หย่องมากเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ใช้ในการผลิตและปรับปรุงรูปร่างให้แปลกออกไปจากเดิมคือ แต่เดิมนั้นไม่ว่าจะเป็นขิมจีนหรือขิมไทยก็มักจะใช้สายที่ทำด้วยลวดทองเหลืองทั้งนั้น แต่ขิม 9 หย่องเปลี่ยนจากสายทองเหลืองไปเป็นสายลวดเหล็กที่ไม่ขึ้นสนิม (Stainless Steel) จึงไม่เป็นสนิมและไม่ขาดง่ายเหมือนกับสายทองเหลืองทั้งยังให้กระแสเสียงที่อ่อนหวานไพเราะน่าฟังมากกว่าสายทองเหลือง
สาเหตุที่ต้องทำเป็นขิม 9 หย่องมีความนัยที่น่าสนใจคือ สายลวดเหล็กที่เรียกว่าเสตนเลสสตีลนั้นมีความหยุ่นตัวมากกว่าสายทองเหลือง ดังนั้นถ้าจะให้เสียงดังกังวานสดใสเต็มที่จะต้องขึงให้ตึงมากกว่าสายทองเหลือง หากเอาสายลวดเหล็กไม่ขึ้นสนิมมาเปลี่ยนแทนสายลวดทองเหลืองในขิมชนิด 7 หย่องแล้วจะเกิดปัญหาคือจะไม่สามารถเทียบสายให้ |
|
1) ตัวขิม 2) หมุดยึดสายขิมแบบเกลียว 3) สายขิมเสตนเลสสตีล 4) หย่อง 5) สันหย่องทำด้วยโลหะ 6) หมุดปรับสายขิมแบบเกลียว 7) หย่องบังคับเสียง 8) ร่องเสียงอยู่ใต้ตัวขิม 9) พื้นใต้ตัวขิม
ตึงมากๆได้ทั้งนี้เพราะวงเครื่องสายไทยใช้ระดับเสียงที่เรียกว่า "เพียงออ" เป็นหลักในการเทียบเสียง(ระดับเสียงเพียงออคือระดับเสียงของขลุ่ยไทยชนิดที่ใช้ในการบรรเลงเครื่องสาย) และระดับเสียงเพียงออนี้จะอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เมื่อใช้สายขิมเสตนเลสสตีลขึงจะถึงระดับของเสียงเพียงออก่อนที่ตัวสายจะตึงเต็มที่ เวลาตีสายขิมเสียงจะไม่น่าฟังเพราะสาย ยังไม่ตึงเต็มที่ นายแพทย์สมชาย กาญจนสุต จึงเพิ่มระยะความยาวของตัวขิมออกไปทางด้านข้างอีกเพื่อให้สามารถเพิ่มความตึงของสายได้โดยระดับเสียงยังคงเดิม ด้วยวิธีนี้จึงทำให้ขิมที่ใช้สายเสตนเลสสตีลมีเสียงกังวานสดใสไพเราะน่าฟังเนื่องจากตัวสายขิมมีความตึงเต็มที่ และเนื่องจากการที่ต้องเพิ่มความยาวทางด้านข้างออกไปมากกว่าเดิมจึงจำเป็นต้องเพิ่มความความยาวด้านตั้งด้วยเพื่อให้รูปร่างของขิมแลดูสมส่วนไม่เรียวยาวมากเกินไป นอกจากนั้นการเพิ่มความยาวในแนวตั้งยังทำให้ได้ตำแหน่งเสียงเพิ่มขึ้นอีก 2 ตำแหน่งจึงกลายเป็นขิมที่มีหย่อง 9 หย่อง ด้วยเหตุนี้ขิม 9 หย่องจึงมีขนาดใหญ่กว่าขิม 7 หย่อง
นอกจากการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการทำสายขิมและเปลี่ยนรูปร่างให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมแล้วนายแพทย์สมชายยังได้ออกแบบช่องเสียงของตัวขิมใหม่คือแต่เดิมช่องเสียงขิมนิยมทำเป็นวงกลมๆ 2 วงอยู่บนผิวหน้าขิมแล้วปิดประดับด้วยงาหรือวัสดุที่ทำเป็นลายฉลุสวยงาม แต่ช่องเสียงของขิม 9 หย่องกลับทำเป็นร่องยาวๆอยู่ตรงด้านข้างใต้ตัวขิมข้างละ 1 ร่อง บนผิวหน้าของตัวขิมจึงแลดูราบเรียบไม่มีร่องกลมๆให้เห็นเหมือนขิม 7 หย่อง
ขิม 9 หย่องนี้ปัจจุบันเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีที่บรรเลงขิมมาก แม้ว่าสนนราคาจะค่อนข้างแพงสักหน่อยแต่คุณประโยชน์ก็มีมากเช่นกันคือ เสียงไพเราะน่าฟัง สายขิมไม่ขาดง่าย และมีรูปร่างสวยงาม ผู้ที่ซื้อขิมชนิดนี้ควรจะเป็นผู้ที่มุ่งจะฝึกเอาดีทางการบรรเลงขิมจึงจะสมประโยชน์เพราะหากคิดเพียงแค่จะบรรเลงขิมเล่นๆแล้วซื้อขิมรุ่นอื่นที่เป็นชนิด 7 หย่องจะสมประโยชน์มากกว่า ทั้งราคายังไม่แพงมากด้วย
นายแพทย์สมชาย กาญจนสุต ยังได้ริเริ่มออกแบบขิมให้มีความสะดวกในการนำไปบรรเลงยังสถานที่ต่างๆโดยทำเปลือกนอกของตัวขิมให้มีลักษณะคล้ายกับกระเป๋าเดินทางโดยมีหูหิ้วสำหรับหิ้วขิมติดมาด้วย ขิมรุ่นนี้เรียกกันว่า "ขิมกระเป๋า" วัสดุที่ใช้ทำเปลือก นอกเป็นวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำกระเป๋าเดินทางทั่วไปมีฝาเปิดปิดได้ทำนองเดียวกับกระเป๋าเดินทางเมื่อเปิดฝาออกมาแล้วส่วนในจะกลายเป็นพื้นหน้าของขิมชนิด 7 หย่อง ขิมกระเป๋านี้มีรูปร่างกรอบนอกเรียบๆธรรมดาไม่มีรอยหยักโค้งเหมือนขิมไม้โดยมากจะมีรูปทรงแบบสี่เหลื่ยมคางหมู
|
|
1) ตัวขิม 2) ขอบฝาขิม 3) ไม้ตีขิม 4) พื้นฝาขิม5) หมุดยึดสายขิม 6) สลักกุญแจ 7) กุญแจ 8) กระบอกเทียบเสียง9) วงช่องเสียง 10) หูหิ้ว 11) หย่องขิม 12) สายขิม 13) หย่องบังคับเสียง
ขิมกระเป๋านี้สามารถนำเดินทางติดตัวไปยังสถานที่ไกลๆเช่นในต่างประเทศได้สะดวกเป็นการเอื้ออำนวยสำหรับการเผยแพร่ดนตรีไทยไปต่างประเทศทางอ้อมด้วย เพราะขิมแบบนี้มีเปลือกนอกแข็งแรงเหมาะกับการขนส่งไปทางไกล
นอกจากขิมกระเป๋าที่กล่าวไปแล้วนายแพทย์สมชายฯยังได้ออกแบบขิมกระเป๋าอีกชนิดหนึ่งซึ่งแตกต่างไปจากขิมกระเป๋าชนิดแรกเรียกว่า "ขิมกระเป๋าแบบแยกส่วน" ขิมชนิดนี้มีกระเป๋า ซึ่งสามารถแยกออกจากตัวขิมได้โดยออกแบบทำตัวขิมสำเร็จรูปแยกต่างหากจากตัวกระเป๋าแต่สามารถสอดเก็บไว้ได้แนบสนิทภายในฝาขิมพอดี ตัวกระเป๋าแยกออกเป็น 2 ส่วนคือฝาส่วน
|
|
และฝาส่วนล่างซึ่งสามารถถอดแยกออกจากกันได้ด้วย ขิมกระเป๋ารุ่นนี้มีแผ่นไม้แบนๆ 3 ชิ้นซึ่งประกอบเข้าเป็นขาตั้งสำหรับวางตัวขิมให้สะดวกในการบรรเลงและดูสวยงามด้วย
1) ตัวขิม 2) ฝาขิมด้านล่าง 3) ฝาขิมด้านบน 4) หูหิ้ว 5) สลักกุญแจ 6) กุญแจ 7) แผ่นไม้สำหรับรองตัวขิม
ก่อนที่นายแพทย์สมชายฯจะคิดประดิษฐ์ขิม 9 หย่องซึ่งใช้สายโลหะเสตนเลสสตีลนั้น นายแพทย์สมชายฯได้สนใจขิมพิเศษตัวหนึ่งซึ่งเป็นสมบัติของผู้เขียนเอง ที่ว่าเป็นขิมพิเศษก็คือขิมตัวนี้ประดิษฐ์โดยครูท่านหนึ่ง (ไม่ทราบนาม) ซึ่งรู้จักกับคุณแม่ของผู้เขียนคืออาจารย์บรรเลง สาคริก ครูท่านนี้ได้ประกอบตัวขิมขึ้นเองโดยมุ่งจะให้ลูกเรียนแต่ลูกไม่สนใจเรียนจึงขายต่อให้กับคุณแม่ของผมในราคา 600 บาท ความพิเศษของขิมตัวนี้คือมีขนาดใหญ่กว่าขิม 7 หย่องในยุคนั้นเล็กน้อยแต่สายที่ใช้ขึงเป็นสายลวดเหล็กขนาดใหญ่ไม่ใช่สายทองเหลือง ตอนที่ซื้อขิมตัวนี้มาใหม่ๆนั้นลวดเหล็กที่ใช้ทำสายขิมขาดชำรุดไปเป็นส่วนใหญ่ไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้บรรเลงได้ ผู้เขียนจึงนำไปให้ร้านของศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ซึ่งขณะนั้นท่านยังมีชีวิตอยู่ทำการเปลี่ยนสายให้ใหม่โดยให้เปลี่ยนเป็นสายทองเหลืองเหมือนกับขิม 7 หย่องทั่วไป แต่เมื่อไปรับขิมปรากฏว่าที่ร้านได้เปลี่ยนเป็นสายลวดเสตนเลสสตีลให้ทั้งตัวเมื่อลองตีดูเสียงไม่ค่อยดังและไม่ค่อยไพเราะเท่าใดผู้เขียนจึงเก็บขิมตัวนั้นไว้นานเกือบปีโดยไม่ได้นำมาใช้บรรเลงเลย อยู่มาวันหนึ่งขณะที่รื้อจัดของในห้องดนตรีก็เห็นขิมตัวนี้จึงลองนำออกมาปรับเทียบเสียงใหม่โดยปรับให้เสียงสูงในระดับเสียงของออร์แกนปรากฏว่ามีเสียงไพเราะน่าฟังมากทีเดียวจึงลองบรรเลงเล่นเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2524 ที่มีการก่อตั้ง มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ผู้เขียนได้บรรเลงขิมตัวนี้บันทึกเสียงไว้ที่ห้องบันทึกเสียงของอาจารย์ประสิทธิ ถาวรเพื่อนำออกเผยแพร่จำหน่าย ปรากฏว่าสามารถจำหน่ายขิมชุดนี้ซึ่งบันทึกไว้ 3 ตลับได้กว่า 1 พันตลับภายในช่วงเวลาจัดงานเพียง 3 วัน ต่อมานายแพทย์สมชายฯได้ฟังเทปขิมชุดนี้จึงได้มาพบและขอดูขิมตัวที่ใช้บันทึกเสียงเพราะสนใจว่าเหตุใดจึงมีกระแสเสียงไพเราะน่าฟังกว่าขิมทั่วไปพร้อมทั้งขออนุญาตวัดขนาดของขิมตัวนี้โดยละเอียด หลังจากนั้นไม่นานนักจึงได้ประดิษฐ์ขิม 9 หย่องตัวแรกขึ้นและได้นำขิม 9 หย่องตัวนั้นมามอบให้ผู้เขียนเป็นที่ระลึกพร้อมทั้งบอกเล่ารายละเอียดในการออกแบบให้ผู้เขียนฟัง ขิม 9 หย่องตัว
|
|
สนใจศึกษาอบรมได้ที่
โทร. 02-5011314 ,086-4071435,089 22 33 011
นี้ผู้เขียนได้ใช้บรรเลงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันโดยคุณภาพเสียงยังไพเราะน่าฟังเสมอและสายขิมก็ไม่เค
ยขาดอีกเลย หลังจากนั้นนายแพทย์สมชายฯจึงได้ผลิตขิม 9 หย่องออกวางจำหน่ายทั่วไปและได้รับความนิยมจากผู้บรรเลงขิมส่วนใหญ่
ต่อมาไม่นานนักนายแพทย์สมชายฯได้คิดประดิษฐ์ขิม 11 หย่องขึ้นมาอีกโดยมีจุดมุ่งหมายพิเศษคือขิม 11 หย่องนี้รวมเอาขิม 7 หย่อง 2 ตัวเข้าไว้ด้วยกันในตัวเดียวกล่าวคือ สายบนสุดนับลงมา 7 ตำแหน่งเทียบเสียงเป็นขิมที่มีระดับเสียงค่านข้างสูงส่วนสายที่เหลือซึ่งอยู่ถัดลงมาเทียบเป็นเสียงระดับค่อนข้างต่ำ ด้วยวิธีนี้ขิม 11 หย่อง 1 ตัวจึงสามารถบรรเลงได้มิติของเสียงมากขึ้นคือเหมือนกับมีขิม 7 หย่อง 2 ตัวที่เทียบเสียงสูงตัวหนึ่งและเสียงต่ำตัวหนึ่งซ้อนกันอยู่ภายในตัวเดียว แต่ผู้ที่บรรเลงขิม 11 หย่องนี้จะต้องมีความสามารถสูงจึงจะบรรเลงได้ดี
หลังจากนั้นไม่นานนักนายแพทย์สมชายฯได้ผลิตขิม 11 หย่องชนิดเสียงทุ้มออกมาอีกโดย คราวนี้ออกแบบโครงสร้างภายในตัวขิมใหม่หมดพร้อมทั้งเปลี่ยนขนาดของสายขิมให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เสียงขิมมีความทุ้มลึกมากเป็นพิเศษเรียกว่า "ขิมอู้" หรือขิมที่เน้นการบรรเลงเฉพาะเสียงทุ้มลึกคล้ายกับเครื่องดนตรีเบส ขิมชนิดนี้เมื่อใช้บรรเลงร่วมกับขิม 9 หย่องโดยเรียบเรียงวิธีการบรรเลงให้เหมาะสมแล้วจะเพิ่มอรรถรสให้กับผู้ฟังมากทีเดียวเพราะมีทั้งเสียงสูงและเสียงต่ำครบครัน
ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นพัฒนาการของขิมที่ใช้สายโลหะทั้งสิ้น แต่ยังมีขิมอีกชนิดหนึ่งซึ่งมิได้ใช้สายทองเหลืองหรือสายลวดเหล็กไม่ขึ้นสนิมเป็นต้นกำเนิดเสียงแต่ใช้แผ่นโลหะแทน ขิมชนิดนี้เดิมเรียกว่า "ขิมทอง" ซึ่งย่อมาจากคำว่า "ขิมทองเหลือง" ทั้งนี้เพราะใช้แผ่นทองเหลืองเรียง กันแทนตำแหน่งของสายขิม เวลาบรรเลงจะมองเห็นแผ่นทองเหลืองเรียงกันในรูปแบบเดียวกับสายขิมดังนั้นผู้บรรเลงขิมจึงไม่ต้องเปลี่ยนความรู้สึกและสามารถบรรเลงไปตามที่เคยชินได้ทันที
ขิมทองหรือขิมทองเหลืองนี้ต่อมาภายหลังเรียกกันหลายชื่อตามวัสดุที่ใช้แทนสายขิมเช่นถ้าใช้แผ่นเหล็กก็เรียกว่าขิมเหล็ก ถ้าใช้แผ่นอะลูมิเนียมก็เรียกว่าขิมอะลูมิเนียม ดังนั้นเพื่อกันความสับสนจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อขิมชนิดนี้ว่า "ขิมแผ่น" เพราะใช้แผ่นโลหะวางเรียงกันแทนการขึงด้วย |
|
1) ตัวขิม (กล่องขิม) 2) ฝาขิม 3) ไม้ตีขิม 4) หูหิ้ว 5) สลักกุญแจ 6) กุญแจ 7) ที่เหน็บไม้ตี 8) แผ่นโลหะ
สายโลหะ ขิมแผ่นนี้มีเสียงกังวานคล้ายกับเสียงฆ้องดังนั้นจึงอาจถือได้ว่าเป็น "ฆ้อง" ของวงเครื่องสาย ขิมแผ่นมีข้อดีคือเสียงจะไม่เพี้ยนง่ายเพราะแผ่นโลหะไม่ได้ยืดหดมากเหมือนสายลวด และเมื่อบรรเลงร่วมกับวงดนตรีอย่างถูกวิธีแล้วจะให้เสียงกังวานนุ่มนวลน่าฟังไปอีกแบบหนึ่ง
ผู้ผลิตขิมแผ่นมักนิยมทำรูปร่างขิมให้คล้ายกับกระเป๋าเดินทางมีฝาเปิดปิดได้ ด้านในของฝาขิมใช้เก็บไม้ตีขิมซึ่งด้ามทำด้วยท่อนหวายกลมหรือไม้เนื้อแข็งแบบเดียวกับไม้ตีระนาดแต่ตรงปลายให้ลูกยางกลมเสียบไว้ข้างละลูกเพื่อให้ได้เสียงที่นุ่มนวลเวลาตี ตัวแผ่นโละที่ใช้ตีให้เกิดเสียงนั้นวางเรียงกันบนแผ่นสักหลาดมีหมุดยึดไว้หลวมๆทั้ง 2 ด้านของแต่ละแผ่นเพื่อกันหลุดหายขณะที่ยกไปมา วิธีบรรเลงขิมแผ่นแตกต่างไปจากการบรรเลงขิมสายคือ การบรรเลงขิมแผ่นจะบรรเลงทำนองห่างๆคล้ายกับการบรรเลงฆ้องวงใหญ่และไม่ค่อยกรอมากเหมือนกับการบรรเลงขิมสาย
ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นประวัติความเป็นมาโดยย่อของขิมและประวัติการพัฒนาขิมโดยคนไทย อันแสดงถึงจินตนาการและภูมิปัญญาของช่างดนตรีไทยที่คิดค้นดัดแปลงเครื่องดนตรีของชาติอื่นให้เหมาะสมกับรสนิยมของคนไทย ทั้งยังต่อเติมให้มีความสะดวกในการใช้มากขึ้นด้วย
แม้ว่าขิมหรือพิณผีเสื้อตัวนี้จะมีต้นกำเนิดอยู่ห่างไกลถึงมหาอาณาจักรเปอร์เซียนโบราณแต่ก็ได้โบยบินผ่านกาลเวลาและเส้นทางสายไหมอันยาวไกลเรื่อยมาจนถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จนผีเสื้อตัวนี้ได้กลายมาเป็นผีเสื้อไทยโดยสมบูรณ์ได้ทำหน้าที่ขับลำนำเพลงไทยอันอ่อนหวานไพเราะน่าฟังให้ปรากฏประจักษ์แก่ชาวโลกมาจนถึงปัจจุบันนับเป็นเครื่องดนตรีที่น่าสนใจและน่าอัศจรรย์มากชิ้นหนึ่งทีเดีย |
บรรยากาศสถานบัน
แผนที่การเดินทาง
หน้าหลัก B.U.N.ACADEMY(THAILAND)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น