วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ดนตรีไทย

ดนตรีไทย 


สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)

สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)
เปิดสอนหลักสูตร  ดนตรีไทย  เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทยไม่ว่าจะเป็น ขิม ซอด้วง ซออู้ ระนาด  จากอาจารย์เจี๊ยบ เดี่ยวขิม ระดับประเทศไทย ผลงานระดับหน้าพระที่นั่ง  ผู้มากด้วยประสบการณ์ ได้รับรางวัลมากมาย

สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)
เปิดสอน ดนตรีไทย
  รอบวัน          เสาร์ อาทิตย์
  ตั้งแต่เวลา    10.00 น - 19.30 น
  เรียนเดี่ยว     คอร์สละ 5,000  บาท วันละ 2 ชั่วโมง
                       สำหรับเน้นเป็นเร็ว และ ฝึกเทคนิคต่างๆ
  เรียนกลุ่ม      รอบละ 4 ท่าน คอร์สละ 2,500  บาท

 รับจำนวนจำกัด   เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี
สอบถามรายละเอียดได้ที่
 สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)
         โทร. 02-5011314 ,086-4071435,
                    089 22 33 011
สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)
99/64 หมู่บ้านเดอะแพลนท์ ถ.ติวานนท์
ต. บางกะดี  อ.เมือง จ.ปทุมธานี
  สถาบัน B.U.N. ACADEMY(THAILAND)


พร้อมอุปกรณ์การเรียน

ฝึกทักษะ และเทคนิค กับ ครูเจี๊ยบ ขิมเดียวระดับประเทศ
สถานที่เรียนห้องแอร์ สะอาด สะดวก ปลอดภัย  รับจำนวนจำกัด
                          เพียง 4 ท่านต่อรอบ  รับตั้งแต่อายุ 7 ปี เป็นต้นไป



ขิม เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมบรรเลงเล่นกันทั่วไปในหลายประเทศทั้งในทวีปยุโรปและทวีปเอเซีย เครื่องดนตรีชนิดนี้น่าจะพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภท "พิณ" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงโดยเหนี่ยวสายให้เกิดเป็นเสียงด้วยนิ้วหรือวัสดุแข็งที่ทำจากกระดูกหรือเขาสัตว์ต่อมาจึงใด้คิดประดิษฐ์รูปร่างใหม่ให้เหมาะสมกับการใช้ไม้ตี
ลงไปบนสายให้เกิดเสียงแทนการใช้นิ้ว
แม้ขิมจะเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไปแต่ประวัติความเป็นมาของขิมนั้นมีคนทราบน้อยมาก อย่างเช่นในเมืองไทยคนส่วนใหญ่จะคิดว่าขิมเป็นเครื่องดนตรีของจีนเพราะทราบแต่เพียงว่าไทยรับเอาแบบอย่างการบรรเลงขิมหรือการประดิษฐ์ขิมมาจากชาวจีนที่เข้ามาค้าขายกับเมืองไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สำหรับชาวยุโรปส่วนใหญ่จะทราบว่าขิมเป็นเครื่องดนตรีที่แพร่เข้ามาจากทางตะวันออกแถบเอเซียกลางซึ่งก็คือบริเวณที่ตั้งของประเทศตุรกี อิหร่าน อิรัค และประเทศในกลุ่มศาสนาอิสลามอีกหลายประเทศในปัจจุบันนั่นเอง แต่ในยุคโบราณซึ่งนับถอยหลังไปประมาณ 539 - 330 ปีก่อนศริสตกาลนั้นบริเวณดังกล่าวตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของชนชาติที่เคยยิ่งใหญ่ชาติหนึ่งนั่นคือ "อาณาจักรเปอร์เซีย"
ชนชาติเปอร์เซียนโบราณเป็นทั้งชาตินักรบและศิลปินสังเกตได้จากอาณาจักรที่แผ่กว้างไกลและสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือมาจนถึงยุคปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนในด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองและชนชาติเปอร์เซียนนี้เองที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ริเริ่มคิดประดิษฐ์ ขิม ขึ้นมาก่อนเป็นชาติแรก
เมื่อชาวเปอร์เซียนคิดประดิษฐ์ขิมขึ้นแล้วก็แพร่หลายไปทั้งทวีปยุโรปและเอเซียตามอิทธิพลของอาณาจักรเปอร์เซีย สำหรับทวีปเอเซียนั้นแพร่เข้ามาทางเส้นทางสายไหมไปสู่ประเทศจีนโดยพ่อค้าชาวเปอร์เซียน ด้วยเหตุนี้ชาวจีนจึงเรียกขิมว่า "หยางฉิน" (Yang Ch'in) ซึ่งแปลว่า "เครื่องดนตรีของต่างชาติ" ส่วนที่แพร่ไปทางดินเดียก็มีเหมือนกันโดยชาวดินเดียเรียกขิมว่า "ซันตูร์" (Santoor) ในทวีปยุโรปเรียกขิมว่า "ดัลไซเมอร์" (Dulcimer) ที่จริงคำว่า Dulcimer มิได้หมายถึงขิมเท่านั้นแต่หมายรวมไปถึงเครื่องดนตรีประเภทพิณที่ทำด้วยไม้แล้วขึงสายโลหะทุกประเภท ส่วนใหญ่เครื่องดนตรีที่ขึงสายนั้นจะบรรเลงด้วยการใช้นิ้วมือหรือวัสดุเล็กที่เรียกว่า "ปิ๊ก" (Pick) ดีดหรือเขี่ยสายให้เกิดเสียงและใช้นิ้วมืออีกข้างกดสายเพื่อให้เกิดเป็นทำนองเสียงสูงต่ำแตกต่างกันแต่ขิมเป็นเครื่องดนตรีประเภท Dulcimer ที่ใช้ไม้ 2 อันตีไปตามสายดังนั้นจึงเรียกขิมอีกชื่อหนึ่งว่า Hammered Dulcimer ซึ่งหมายถึงพิณที่บรรเลงด้วยการใช้ฆ้อนไม้เล็กๆตีลงไปบนสายนั่นเอง
โดยเหตุที่ชาวจีนเป็นนักคิดประดิษฐ์และมีรูปแบบศิลปะเป็นของตนเองดังนั้นเมื่อรับเอารูปแบบของขิมมาจากเปอร์เซียแล้วจึงนำมาดัดแปลงเป็นแบบฉบับของตนเองและนิยมบรรเลงกันแพร่หลายทั่วไปแต่มิได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับเครื่องดนตรีชนิดนี้คงเรียกว่าหยางฉินสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
  
สนใจศึกษาอบรมได้ที่
โทร. 02-5011314 ,086-4071435,089 22 33 011
ครั้นถึงยุคต้นๆของกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อมีพ่อค้าชาวจีนแล่นเรือเข้ามาค้าขายและตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยมากขึ้นนักดนตรีไทยเห็นชาวจีนนำหยางฉินเข้ามาบรรเลงเล่นกันในชุมชนของชาวจีนและโรงงิ้วจึงเกิดความสนใจและได้นำเครื่องดนตรีชนิดนี้เข้ามาร่วมบรรเลงกับเครื่องดนตรีของไทยเช่น ซอด้วง ซออู้ และเห็นว่ามีความไพเราะน่าฟังเหมาะสมกลมกลืนกันดีจึงจัดให้ขิมเป็นเครื่องดนตรีของไทยอีกชนิดหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในประเภทวงเครื่องสายทั้งนี้อาจจะเห็นว่าขิมนั้นมีสายขึงเรียงรายอยู่มากมายทั้งๆที่ลักษณะการบรรเลงของขิมนั้นน่าจะจัดอยู่ในประเภทเครื่องตีเช่นระนาดเอกหรือฆ้องวงมากกว่าแต่เนื่องจากเสียงขิมนั้นเมื่อบรรเลงรวมกับเสียงของวงปี่พาทย์แล้วไม่ค่อยสนิทสนมกลมกลืนเหมือนบรรเลงกับวงเครื่องสายด้วยเหตุนี้ขิมจึงถูกจัดให้เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเรียกวงดนตรีที่ใช้ขิมร่วมบรรเลงว่า "วงเครื่องสายผสมขิม" ประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ ขิม ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง
มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับชื่อ "ขิม" คือ คำนี้มีที่มาอย่างไรกันแน่ ในเมื่อชาวจีนเรียก ขิมว่า หยางฉิน ชาวตะวันตกเรียก แฮมเมอร์ดัลไซเมอร์ ชาวอินเดียเรียกว่า ซันตูร์ ชาติอื่นๆต่างก็มีชื่อเรียกขิมแตกต่างไปไม่เหมือนกันซึ่งไม่ปรากฏว่ามีชื่อใดที่มีการออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า ขิม เลย แล้วเหตุใดคนไทยจึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า ขิม
เรื่องนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานใดที่ชี้ชัดแต่นักดนตรีไทยรุ่นหลังๆคาดเดากันเองว่าคำนี้คนไทยรุ่นแรกๆที่นำขิมมาบรรเลงอาจจะเรียกชื่อขิมเพี้ยนมาจากคำว่า "คิ้ม" ในภาษาจีน เนื่องจากคำว่าคิ้มในภาษาจีนหมายถึง เครื่องดนตรีประเภท "พิณ" ทุกชนิด คล้ายๆกับที่ชาวยุโรปเรียก ดัลไซเมอร์ (Dulcimer) นั่นเอง และเป็นไปได้ว่าเมื่อคนไทยถามถึงชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ ชาวจีนอาจจะบอกว่าชื่อ คิ้ม ซึ่งเป็นชื่อเรียกรวมๆของขิมแต่คนไทยคงได้ยินเป็นขิมเลยเรียกกันต่อๆมาจนถึงปัจจุบันเพราะการออกเสียงคำว่า คิ้ม กับ ขิม นั้นดูจะใกล้เคียงกันมากอย่างไรก็ดีเรื่องนี้เป็นเพียงการสันนิษฐานคาดเดากันเองเท่านั้น ที่มาจริงๆยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด
สนใจศึกษาอบรมได้ที่
โทร. 02-5011314 ,086-4071435,089 22 33 011
ยังมีชื่อเรียกขิมเป็นภาษาอังกฤษที่แปลกและน่าสนใจอีกชื่อหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีคนทราบมากนักชื่อนั้นคือ Butterfly Harp หมายถึงพิณที่มีรูปร่างคล้ายกับตัวผีเสื้อกล่าวคือเมื่อเรานำ ตัวขิม ฝาขิม และอุปกรณ์ในการตีขิมมาเรียงเข้าด้วยกันให้เหมาะสมถูกตำแหน่งแล้วจะมองดูคล้ายกับผีเสื้อกำลังกางปีกบินมากทีเดียวจึงมีผู้เรียกขิมว่า "พิณผีเสื้อ" หรือ Butterfly Harp ซึ่งฟังไพเราะและมีความหมายเข้ากันได้ดีทีเดียว
ขิมโป๊ยเซียน
ขิมเริ่มมีบทบาทในวงดนตรีไทยจริงๆในสมัยรัชกาลที่ 6 โดย อาจารย์มนตรี ตรโมท เป็นผู้ริเริ่มนำขิมมาบรรเลงในวงดนตรีไทย หลังจากนั้นก็มีผู้นิยมบรรเลงขิมกันแพร่หลายทั่วไป ขิมจีนรุ่นแรกๆนั้นคนไทยนิยมเรียกว่า "ขิมโป๊ยเซียน" เป็นขิมที่สั่งเข้ามาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ที่เรียกว่าขิมโป๊ยเซียนก็เพราะขิมรุ่นนั้นนิยมวาดภาพเซียนแปดองค์ของจีนไว้บนฝาขิมต่อมาเมื่อความต้องการซื้อขิมเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศจีน ทำการปิดประเทศช่างดนตรีของไทยจึงได้คิดประดิษฐ์ขิมขึ้นมาเองโดยเปลี่ยนจากภาพเซียนแปดองค์เป็นภาพลายไทยอื่นๆเช่นลายเทพนมเป็นต้น

1) หน้าขิม 2) ฝาขิม 3)ลิ้นชัก 4) ฆ้อนขิม 5) ไม้ขิม 6)หย่องขิม 7)หมุดยึดสาย
8) ช่องเสียง 9) สายขิม 10) หย่องบังคับเสียง 11) ห่วงลิ้นชัก 12) หมุดเทียบเสียง
มีเรื่องเล่าที่น่าขบขันเกี่ยวกับขิมจีนที่พ่อค้าคนไทยสั่งซื้อมาจากเมืองจีนว่า ในตอนที่คนไทยเริ่มนิยมบรรเลงขิมจีนกันมากนั้นมีพ่อค้าคนไทยคนหนึ่งต้องการจะสั่งขิมจีนเข้ามาจำหน่ายที่ร้านแต่ต้องการให้ช่างจีนเขียนลายบนฝาขิมเป็นภาพหนุมานกำลังหักคอช้างเอราวัณจึงจัดหาภาพดังกล่าวส่งไปพร้อมกับใบสั่งซื้อครั้นเมื่อสินค้ารุ่นแรกเข้ามาถึงจำนวน 12 ตัวปรากฏว่าลวดลายบนฝาขิมกลายเป็นภาพเสือกำลังตะปบคอช้าง พ่อค้าจึงเขียนหนังสือต่อว่าไปทางเมืองจีนว่าภาพนั้นควรจะเป็นภาพลิงหักคอช้างแต่ช่างจีนโต้ตอบกลับว่า ..ลิงที่ไหนจะสามารถหักคอช้างได้ ควรจะเป็นเสือมากกว่า.. เขาจึงเขียนแก้ให้ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในยุคแรกที่ขิมเริ่มเข้ามาในเมืองไทย เพราะพ่อค้าคนนั้นเป็นเพื่อนกับบิดาของผู้เขียนและเรื่องนี้บิดาของผู้เขียนคือพระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก) เป็นผู้เล่าให้ฟังด้วยตนเอง เมื่อเป็นดังนี้พ่อค้าคนนั้นจึงเลิกสั่งขิมจากประเทศจีนและขิมที่มีฝาเป็นรูปเสือตะปบคอช้างจึงมีเพียง 12 ตัวเท่านั้น ขิมรุ่นนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสเห็นด้วยตาของตนเองครั้งหนึ่งเมื่อมีลูกศิษย์นำมาให้ช่วยปรับสียง ลูกศิษย์บอกว่าเป็นของมรดกตกทอดของคุณย่าของเขาแต่สภาพของขิมตัวนั้นไม่เหมาะที่จะนำมาบรรเลงแล้วเนื่องจากมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากผู้เขียนจึงบอกให้เขาเก็บไว้เป็นของเก่าที่มีคุณค่าดีกว่าเพราะเป็นขิมรุ่นที่มีเพียง 12 ตัว เท่านั้น
เมื่อจีนปิดประเทศอยู่หลังม่านไม้ไผ่และความต้องการขิมในเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นแรงจูงใจให้ช่างดนตรีไทยผลิตขิมขึ้นใช้เองในประเทศขิมไทยจึงถือกำเนิดขึ้นและมีการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ช่างดนตรีไทยได้ประดิษฐ์ขิมขึ้นโดยเลียนแบบอย่างจากขิมโป๊ยเซียนแต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย และโดยความที่คนไทยเป็นนักคิดประดิษฐ์ไม่แพ้ชาติอื่นช่างดนตรีไทยจึงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะและอุปกรณ์สำหรับตีขิมให้แตกต่างออกไปบ้างอาทิเช่นไม้ขิมของจีนนั้นเดิมตรงส่วนปลายเป็นเพียงสันไม้ไผ่เปล่าๆไม่มีวัสดุห่อหุ้ม ช่างไทยก็หาวัสดุจำพวกแผ่นหนังมาติดไว้เวลาตีสายขิมจะมีเสียงไพเราะนุ่มนวลน่าฟังมากกว่า ลวดลายที่วาดบนฝาขิมก็เปลี่ยนเป็นลายไทยเช่นลายเทพนมฯหรือถ้าวาดเป็นลายจีนก็เป็นลายจีนแบบไทยที่คิดประดิษฐ์ลายเองเช่นลายมังกรคู่หรือลายจีนอื่นๆแล้วแต่จินตนาการของช่างแต่ละแหล่งผลิต

ขิมไทยมีพัฒนาการเรื่อยมาทั้งในด้านรูปร่างลักษณะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรเลงขิมอาทิเช่น ทำตัวขิมเป็นรูปเหมือนกระเป๋าเดินทางมีหูหิ้วเพื่อให้สะดวกในการนำ ไปบรรเลงยังที่ต่างๆ ทำถุงใส่ตัวขิมทั้งที่เป็นพลาสติกหนังและผ้า บางทีก็ทำเป็นสายเข็มขัดรัดตัวขิมมีหูหิ้วในตัวฯลฯ แต่การพัฒนาที่นับว่าเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญครั้งแรกของวงการผลิตขิมของไทยก็คือการผลิตขิมชนิด "หมุดเกลียว"
แต่เดิมนั้นขิมจีนและขิมที่ผลิตโดยคนไทยล้วนใช้หมุดยึดสายขิมแบบ "หมุดตอก" ทั้งสิ้น หมุดตอกคือหมุดที่ต้องใช้ฆ้อนเล็กๆตอกย้ำหมุดให้แน่นขณะที่ปรับเสียงขิมเพราะถ้าหมุดไม่แน่นจะคลายตัวง่ายทำให้เสียงขิมเพี้ยนแปร่งไม่น่าฟังแต่เนื่องจากตัวหมุดทำด้วย

สนใจศึกษาอบรมได้ที่
โทร. 02-5011314 ,086-4071435,089 22 33 011
ทองเหลืองบางครั้งจะบิดงอได้ง่ายหรือบางทีส่วนปลายหักค้างอยู่ในเนื้อไม้ทำให้ตอกไม่ลงและตัวหมุดไม่ยึดเนื้อไม้จึงไม่สามารถเทียบเสียงเส้นนั้นได้นอกจากนั้นขิมแบบหมุดตอกตัวหมุดมีผิวเรียบไม่ค่อยจะยึดกับเนื้อไม้ได้ดีนักต้องหมั่นตอกย้ำกันอยู่เสมอมีบ่อยครั้ง ที่หมุดคลายตัวขณะที่กำลังบรรเลงเพราะแรงสั่นสะเทือนจากการตีสายขิมทำให้ต้องหยุดบรรเลงบ่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีช่างดนตรีไทยท่านหนึ่งคิดแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเปลี่ยนมาใช้หมุดเกลียวแทนหมุดตอกทำให้สายขิมไม่ค่อยคลายตัวง่ายและยังสะดวกในการเทียบสายขิมเพราะไม่ได้ใช้ฆ้อนตอกแต่ออกแบบอุปกรณ์เทียบเสียงใหม่เป็นกระบอกสวมหัวหมุดและมีก้านสำหรับจับบิดไปมาได้แรงมากกว่าการหมุนที่หัวฆ้อนแบบเดิมการปรับเสียงขิมจึงทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้นมากและสายขิมไม่คลายตัวง่ายเหมือนหมุดตอกนับเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญครั้งแรกของการผลิตขิมของไทย
น่าแปลกที่ช่างดนตรีท่านนี้ไม่ได้เป็นช่างดนตรีโดยอาชีพแต่เป็นนายแพทย์ที่จบจากโรงพยาบาลศิริราชชื่อนายแพทย์สมชาย กาญจนสุต นายแพทย์สมชายเป็นนักดนตรีไทยที่ชอบบรรเลงขิมแต่มีนิสัยชอบงานช่างไม้ด้วยท่านจึงได้คิดแก้ปัญหาจนทำให้ขิมไทยมีคุณภาพดีขึ้นนายแพทย์สมชายฯยังได้ออกแบบรูปร่างของขิมให้มีลักษณะแตกต่างออกไปจากขิมโป๊ยเซียนของจีนมากมายหลายแบบซึ่งล้วนได้รับความนิยมจากนักตีขิมทั่วประเทศจึงตั้งโรงงานผลิตขิมเป็นของตนเองชื่อร้าน "สยามวาฑิต" ซึ่งปัจจุบันชื่อร้านสยามวาฑิตเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไปในวงการดนตรีไทย
การพัฒนาแบบก้าวกระโดดของขิมไทยครั้งที่ 2 ก็คือการผลิตขิมชนิด 9 หย่อง ซึ่งนับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของขิมไทยทีเดียวทั้งนี้เพราะขิมชนิด 9 หย่องมีคุณภาพเสียงไพเราะน่าฟังกว่าขิมแบบ 7 หย่องมากเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ใช้ในการผลิตและปรับปรุงรูปร่างให้แปลกออกไปจากเดิมคือ แต่เดิมนั้นไม่ว่าจะเป็นขิมจีนหรือขิมไทยก็มักจะใช้สายที่ทำด้วยลวดทองเหลืองทั้งนั้น แต่ขิม 9 หย่องเปลี่ยนจากสายทองเหลืองไปเป็นสายลวดเหล็กที่ไม่ขึ้นสนิม (Stainless Steel) จึงไม่เป็นสนิมและไม่ขาดง่ายเหมือนกับสายทองเหลืองทั้งยังให้กระแสเสียงที่อ่อนหวานไพเราะน่าฟังมากกว่าสายทองเหลือง
สาเหตุที่ต้องทำเป็นขิม 9 หย่องมีความนัยที่น่าสนใจคือ สายลวดเหล็กที่เรียกว่าเสตนเลสสตีลนั้นมีความหยุ่นตัวมากกว่าสายทองเหลือง ดังนั้นถ้าจะให้เสียงดังกังวานสดใสเต็มที่จะต้องขึงให้ตึงมากกว่าสายทองเหลือง หากเอาสายลวดเหล็กไม่ขึ้นสนิมมาเปลี่ยนแทนสายลวดทองเหลืองในขิมชนิด 7 หย่องแล้วจะเกิดปัญหาคือจะไม่สามารถเทียบสายให้
 
1) ตัวขิม 2) หมุดยึดสายขิมแบบเกลียว 3) สายขิมเสตนเลสสตีล 4) หย่อง
5) สันหย่องทำด้วยโลหะ 6) หมุดปรับสายขิมแบบเกลียว 7) หย่องบังคับเสียง
8) ร่องเสียงอยู่ใต้ตัวขิม 9) พื้นใต้ตัวขิม
ตึงมากๆได้ทั้งนี้เพราะวงเครื่องสายไทยใช้ระดับเสียงที่เรียกว่า "เพียงออ" เป็นหลักในการเทียบเสียง(ระดับเสียงเพียงออคือระดับเสียงของขลุ่ยไทยชนิดที่ใช้ในการบรรเลงเครื่องสาย) และระดับเสียงเพียงออนี้จะอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เมื่อใช้สายขิมเสตนเลสสตีลขึงจะถึงระดับของเสียงเพียงออก่อนที่ตัวสายจะตึงเต็มที่ เวลาตีสายขิมเสียงจะไม่น่าฟังเพราะสาย ยังไม่ตึงเต็มที่ นายแพทย์สมชาย กาญจนสุต จึงเพิ่มระยะความยาวของตัวขิมออกไปทางด้านข้างอีกเพื่อให้สามารถเพิ่มความตึงของสายได้โดยระดับเสียงยังคงเดิม ด้วยวิธีนี้จึงทำให้ขิมที่ใช้สายเสตนเลสสตีลมีเสียงกังวานสดใสไพเราะน่าฟังเนื่องจากตัวสายขิมมีความตึงเต็มที่ และเนื่องจากการที่ต้องเพิ่มความยาวทางด้านข้างออกไปมากกว่าเดิมจึงจำเป็นต้องเพิ่มความความยาวด้านตั้งด้วยเพื่อให้รูปร่างของขิมแลดูสมส่วนไม่เรียวยาวมากเกินไป นอกจากนั้นการเพิ่มความยาวในแนวตั้งยังทำให้ได้ตำแหน่งเสียงเพิ่มขึ้นอีก 2 ตำแหน่งจึงกลายเป็นขิมที่มีหย่อง 9 หย่อง ด้วยเหตุนี้ขิม 9 หย่องจึงมีขนาดใหญ่กว่าขิม 7 หย่อง
นอกจากการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการทำสายขิมและเปลี่ยนรูปร่างให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมแล้วนายแพทย์สมชายยังได้ออกแบบช่องเสียงของตัวขิมใหม่คือแต่เดิมช่องเสียงขิมนิยมทำเป็นวงกลมๆ 2 วงอยู่บนผิวหน้าขิมแล้วปิดประดับด้วยงาหรือวัสดุที่ทำเป็นลายฉลุสวยงาม แต่ช่องเสียงของขิม 9 หย่องกลับทำเป็นร่องยาวๆอยู่ตรงด้านข้างใต้ตัวขิมข้างละ 1 ร่อง บนผิวหน้าของตัวขิมจึงแลดูราบเรียบไม่มีร่องกลมๆให้เห็นเหมือนขิม 7 หย่อง
ขิม 9 หย่องนี้ปัจจุบันเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีที่บรรเลงขิมมาก แม้ว่าสนนราคาจะค่อนข้างแพงสักหน่อยแต่คุณประโยชน์ก็มีมากเช่นกันคือ เสียงไพเราะน่าฟัง สายขิมไม่ขาดง่าย และมีรูปร่างสวยงาม ผู้ที่ซื้อขิมชนิดนี้ควรจะเป็นผู้ที่มุ่งจะฝึกเอาดีทางการบรรเลงขิมจึงจะสมประโยชน์เพราะหากคิดเพียงแค่จะบรรเลงขิมเล่นๆแล้วซื้อขิมรุ่นอื่นที่เป็นชนิด 7 หย่องจะสมประโยชน์มากกว่า ทั้งราคายังไม่แพงมากด้วย
นายแพทย์สมชาย กาญจนสุต ยังได้ริเริ่มออกแบบขิมให้มีความสะดวกในการนำไปบรรเลงยังสถานที่ต่างๆโดยทำเปลือกนอกของตัวขิมให้มีลักษณะคล้ายกับกระเป๋าเดินทางโดยมีหูหิ้วสำหรับหิ้วขิมติดมาด้วย ขิมรุ่นนี้เรียกกันว่า "ขิมกระเป๋า" วัสดุที่ใช้ทำเปลือก นอกเป็นวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำกระเป๋าเดินทางทั่วไปมีฝาเปิดปิดได้ทำนองเดียวกับกระเป๋าเดินทางเมื่อเปิดฝาออกมาแล้วส่วนในจะกลายเป็นพื้นหน้าของขิมชนิด 7 หย่อง ขิมกระเป๋านี้มีรูปร่างกรอบนอกเรียบๆธรรมดาไม่มีรอยหยักโค้งเหมือนขิมไม้โดยมากจะมีรูปทรงแบบสี่เหลื่ยมคางหมู
1) ตัวขิม 2) ขอบฝาขิม 3) ไม้ตีขิม 4) พื้นฝาขิม5) หมุดยึดสายขิม 6) สลักกุญแจ 7) กุญแจ 8) กระบอกเทียบเสียง9) วงช่องเสียง 10) หูหิ้ว 11) หย่องขิม 12) สายขิม 13) หย่องบังคับเสียง
ขิมกระเป๋านี้สามารถนำเดินทางติดตัวไปยังสถานที่ไกลๆเช่นในต่างประเทศได้สะดวกเป็นการเอื้ออำนวยสำหรับการเผยแพร่ดนตรีไทยไปต่างประเทศทางอ้อมด้วย เพราะขิมแบบนี้มีเปลือกนอกแข็งแรงเหมาะกับการขนส่งไปทางไกล
นอกจากขิมกระเป๋าที่กล่าวไปแล้วนายแพทย์สมชายฯยังได้ออกแบบขิมกระเป๋าอีกชนิดหนึ่งซึ่งแตกต่างไปจากขิมกระเป๋าชนิดแรกเรียกว่า "ขิมกระเป๋าแบบแยกส่วน" ขิมชนิดนี้มีกระเป๋า ซึ่งสามารถแยกออกจากตัวขิมได้โดยออกแบบทำตัวขิมสำเร็จรูปแยกต่างหากจากตัวกระเป๋าแต่สามารถสอดเก็บไว้ได้แนบสนิทภายในฝาขิมพอดี ตัวกระเป๋าแยกออกเป็น 2 ส่วนคือฝาส่วน
และฝาส่วนล่างซึ่งสามารถถอดแยกออกจากกันได้ด้วย ขิมกระเป๋ารุ่นนี้มีแผ่นไม้แบนๆ 3 ชิ้นซึ่งประกอบเข้าเป็นขาตั้งสำหรับวางตัวขิมให้สะดวกในการบรรเลงและดูสวยงามด้วย
1) ตัวขิม 2) ฝาขิมด้านล่าง 3) ฝาขิมด้านบน 4) หูหิ้ว
5) สลักกุญแจ 6) กุญแจ 7) แผ่นไม้สำหรับรองตัวขิม
ก่อนที่นายแพทย์สมชายฯจะคิดประดิษฐ์ขิม 9 หย่องซึ่งใช้สายโลหะเสตนเลสสตีลนั้น นายแพทย์สมชายฯได้สนใจขิมพิเศษตัวหนึ่งซึ่งเป็นสมบัติของผู้เขียนเอง ที่ว่าเป็นขิมพิเศษก็คือขิมตัวนี้ประดิษฐ์โดยครูท่านหนึ่ง (ไม่ทราบนาม) ซึ่งรู้จักกับคุณแม่ของผู้เขียนคืออาจารย์บรรเลง สาคริก ครูท่านนี้ได้ประกอบตัวขิมขึ้นเองโดยมุ่งจะให้ลูกเรียนแต่ลูกไม่สนใจเรียนจึงขายต่อให้กับคุณแม่ของผมในราคา 600 บาท ความพิเศษของขิมตัวนี้คือมีขนาดใหญ่กว่าขิม 7 หย่องในยุคนั้นเล็กน้อยแต่สายที่ใช้ขึงเป็นสายลวดเหล็กขนาดใหญ่ไม่ใช่สายทองเหลือง ตอนที่ซื้อขิมตัวนี้มาใหม่ๆนั้นลวดเหล็กที่ใช้ทำสายขิมขาดชำรุดไปเป็นส่วนใหญ่ไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้บรรเลงได้ ผู้เขียนจึงนำไปให้ร้านของศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ซึ่งขณะนั้นท่านยังมีชีวิตอยู่ทำการเปลี่ยนสายให้ใหม่โดยให้เปลี่ยนเป็นสายทองเหลืองเหมือนกับขิม 7 หย่องทั่วไป แต่เมื่อไปรับขิมปรากฏว่าที่ร้านได้เปลี่ยนเป็นสายลวดเสตนเลสสตีลให้ทั้งตัวเมื่อลองตีดูเสียงไม่ค่อยดังและไม่ค่อยไพเราะเท่าใดผู้เขียนจึงเก็บขิมตัวนั้นไว้นานเกือบปีโดยไม่ได้นำมาใช้บรรเลงเลย อยู่มาวันหนึ่งขณะที่รื้อจัดของในห้องดนตรีก็เห็นขิมตัวนี้จึงลองนำออกมาปรับเทียบเสียงใหม่โดยปรับให้เสียงสูงในระดับเสียงของออร์แกนปรากฏว่ามีเสียงไพเราะน่าฟังมากทีเดียวจึงลองบรรเลงเล่นเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2524 ที่มีการก่อตั้ง มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ผู้เขียนได้บรรเลงขิมตัวนี้บันทึกเสียงไว้ที่ห้องบันทึกเสียงของอาจารย์ประสิทธิ ถาวรเพื่อนำออกเผยแพร่จำหน่าย ปรากฏว่าสามารถจำหน่ายขิมชุดนี้ซึ่งบันทึกไว้ 3 ตลับได้กว่า 1 พันตลับภายในช่วงเวลาจัดงานเพียง 3 วัน ต่อมานายแพทย์สมชายฯได้ฟังเทปขิมชุดนี้จึงได้มาพบและขอดูขิมตัวที่ใช้บันทึกเสียงเพราะสนใจว่าเหตุใดจึงมีกระแสเสียงไพเราะน่าฟังกว่าขิมทั่วไปพร้อมทั้งขออนุญาตวัดขนาดของขิมตัวนี้โดยละเอียด หลังจากนั้นไม่นานนักจึงได้ประดิษฐ์ขิม 9 หย่องตัวแรกขึ้นและได้นำขิม 9 หย่องตัวนั้นมามอบให้ผู้เขียนเป็นที่ระลึกพร้อมทั้งบอกเล่ารายละเอียดในการออกแบบให้ผู้เขียนฟัง ขิม 9 หย่องตัว
 สนใจศึกษาอบรมได้ที่
โทร. 02-5011314 ,086-4071435,089 22 33 011
นี้ผู้เขียนได้ใช้บรรเลงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันโดยคุณภาพเสียงยังไพเราะน่าฟังเสมอและสายขิมก็ไม่เค
ยขาดอีกเลย หลังจากนั้นนายแพทย์สมชายฯจึงได้ผลิตขิม 9 หย่องออกวางจำหน่ายทั่วไปและได้รับความนิยมจากผู้บรรเลงขิมส่วนใหญ่
ต่อมาไม่นานนักนายแพทย์สมชายฯได้คิดประดิษฐ์ขิม 11 หย่องขึ้นมาอีกโดยมีจุดมุ่งหมายพิเศษคือขิม 11 หย่องนี้รวมเอาขิม 7 หย่อง 2 ตัวเข้าไว้ด้วยกันในตัวเดียวกล่าวคือ สายบนสุดนับลงมา 7 ตำแหน่งเทียบเสียงเป็นขิมที่มีระดับเสียงค่านข้างสูงส่วนสายที่เหลือซึ่งอยู่ถัดลงมาเทียบเป็นเสียงระดับค่อนข้างต่ำ ด้วยวิธีนี้ขิม 11 หย่อง 1 ตัวจึงสามารถบรรเลงได้มิติของเสียงมากขึ้นคือเหมือนกับมีขิม 7 หย่อง 2 ตัวที่เทียบเสียงสูงตัวหนึ่งและเสียงต่ำตัวหนึ่งซ้อนกันอยู่ภายในตัวเดียว แต่ผู้ที่บรรเลงขิม 11 หย่องนี้จะต้องมีความสามารถสูงจึงจะบรรเลงได้ดี
หลังจากนั้นไม่นานนักนายแพทย์สมชายฯได้ผลิตขิม 11 หย่องชนิดเสียงทุ้มออกมาอีกโดย คราวนี้ออกแบบโครงสร้างภายในตัวขิมใหม่หมดพร้อมทั้งเปลี่ยนขนาดของสายขิมให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เสียงขิมมีความทุ้มลึกมากเป็นพิเศษเรียกว่า "ขิมอู้" หรือขิมที่เน้นการบรรเลงเฉพาะเสียงทุ้มลึกคล้ายกับเครื่องดนตรีเบส ขิมชนิดนี้เมื่อใช้บรรเลงร่วมกับขิม 9 หย่องโดยเรียบเรียงวิธีการบรรเลงให้เหมาะสมแล้วจะเพิ่มอรรถรสให้กับผู้ฟังมากทีเดียวเพราะมีทั้งเสียงสูงและเสียงต่ำครบครัน
ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นพัฒนาการของขิมที่ใช้สายโลหะทั้งสิ้น แต่ยังมีขิมอีกชนิดหนึ่งซึ่งมิได้ใช้สายทองเหลืองหรือสายลวดเหล็กไม่ขึ้นสนิมเป็นต้นกำเนิดเสียงแต่ใช้แผ่นโลหะแทน ขิมชนิดนี้เดิมเรียกว่า "ขิมทอง" ซึ่งย่อมาจากคำว่า "ขิมทองเหลือง" ทั้งนี้เพราะใช้แผ่นทองเหลืองเรียง กันแทนตำแหน่งของสายขิม เวลาบรรเลงจะมองเห็นแผ่นทองเหลืองเรียงกันในรูปแบบเดียวกับสายขิมดังนั้นผู้บรรเลงขิมจึงไม่ต้องเปลี่ยนความรู้สึกและสามารถบรรเลงไปตามที่เคยชินได้ทันที
ขิมทองหรือขิมทองเหลืองนี้ต่อมาภายหลังเรียกกันหลายชื่อตามวัสดุที่ใช้แทนสายขิมเช่นถ้าใช้แผ่นเหล็กก็เรียกว่าขิมเหล็ก ถ้าใช้แผ่นอะลูมิเนียมก็เรียกว่าขิมอะลูมิเนียม ดังนั้นเพื่อกันความสับสนจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อขิมชนิดนี้ว่า "ขิมแผ่น" เพราะใช้แผ่นโลหะวางเรียงกันแทนการขึงด้วย
1) ตัวขิม (กล่องขิม) 2) ฝาขิม 3) ไม้ตีขิม 4) หูหิ้ว
5) สลักกุญแจ 6) กุญแจ 7) ที่เหน็บไม้ตี 8) แผ่นโลหะ
สายโลหะ ขิมแผ่นนี้มีเสียงกังวานคล้ายกับเสียงฆ้องดังนั้นจึงอาจถือได้ว่าเป็น "ฆ้อง" ของวงเครื่องสาย ขิมแผ่นมีข้อดีคือเสียงจะไม่เพี้ยนง่ายเพราะแผ่นโลหะไม่ได้ยืดหดมากเหมือนสายลวด และเมื่อบรรเลงร่วมกับวงดนตรีอย่างถูกวิธีแล้วจะให้เสียงกังวานนุ่มนวลน่าฟังไปอีกแบบหนึ่ง
ผู้ผลิตขิมแผ่นมักนิยมทำรูปร่างขิมให้คล้ายกับกระเป๋าเดินทางมีฝาเปิดปิดได้ ด้านในของฝาขิมใช้เก็บไม้ตีขิมซึ่งด้ามทำด้วยท่อนหวายกลมหรือไม้เนื้อแข็งแบบเดียวกับไม้ตีระนาดแต่ตรงปลายให้ลูกยางกลมเสียบไว้ข้างละลูกเพื่อให้ได้เสียงที่นุ่มนวลเวลาตี ตัวแผ่นโละที่ใช้ตีให้เกิดเสียงนั้นวางเรียงกันบนแผ่นสักหลาดมีหมุดยึดไว้หลวมๆทั้ง 2 ด้านของแต่ละแผ่นเพื่อกันหลุดหายขณะที่ยกไปมา วิธีบรรเลงขิมแผ่นแตกต่างไปจากการบรรเลงขิมสายคือ การบรรเลงขิมแผ่นจะบรรเลงทำนองห่างๆคล้ายกับการบรรเลงฆ้องวงใหญ่และไม่ค่อยกรอมากเหมือนกับการบรรเลงขิมสาย
ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นประวัติความเป็นมาโดยย่อของขิมและประวัติการพัฒนาขิมโดยคนไทย อันแสดงถึงจินตนาการและภูมิปัญญาของช่างดนตรีไทยที่คิดค้นดัดแปลงเครื่องดนตรีของชาติอื่นให้เหมาะสมกับรสนิยมของคนไทย ทั้งยังต่อเติมให้มีความสะดวกในการใช้มากขึ้นด้วย
แม้ว่าขิมหรือพิณผีเสื้อตัวนี้จะมีต้นกำเนิดอยู่ห่างไกลถึงมหาอาณาจักรเปอร์เซียนโบราณแต่ก็ได้โบยบินผ่านกาลเวลาและเส้นทางสายไหมอันยาวไกลเรื่อยมาจนถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จนผีเสื้อตัวนี้ได้กลายมาเป็นผีเสื้อไทยโดยสมบูรณ์ได้ทำหน้าที่ขับลำนำเพลงไทยอันอ่อนหวานไพเราะน่าฟังให้ปรากฏประจักษ์แก่ชาวโลกมาจนถึงปัจจุบันนับเป็นเครื่องดนตรีที่น่าสนใจและน่าอัศจรรย์มากชิ้นหนึ่งทีเดีย



          สนใจศึกษาอบรมได้ที่
                โทร. 02-5011314 ,086-4071435,089 22 33 011                                                             หน้าหลัก B.U.N.ACADEMY(THAILAND



บรรยากาศสถานบัน









  แผนที่การเดินทาง


                                         
  

 หน้าหลัก B.U.N.ACADEMY(THAILAND)